พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์

Last updated: 28 ธ.ค. 2556  |  11272 จำนวนผู้เข้าชม  | 

พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์


พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์ เปิดให้เข้าชมฟรีถึง 30 กันยายน 2555

เปิดให้เข้าชมทุกวันพุธ และวันศุกร์ เวลา 12.30-18.30 น. (เว้นวันหยุดราชการ) สนใจเข้าชมเป็นหมู่คณะติดต่อ 02-2188635 กันได้ค่ะ ที่ตั้ง อยู่ที่อาคารทันตแพทยศาสตร์เฉลิมนวมหาราช 80 ปี ชั้น 9 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การเดินทางตามแผนที่เลยค่ะ

 
ประวัติความเป็นมา (โดยย่อ)
พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์แห่งนี้ถือกำเนิดขึ้นจากการบริจาคร่างกายและชิ้นส่วนอวัยวะของมนุษย์ ของคุณคัทสุมิ คิตามูระ ประธานบริษัทเมดิคัลด็อกเตอร์ซอฟท์เฮ้าส์ จำกัด ภายใต้การแนะนำของศาสตราจารย์ คัซสุฮิโร เอะโตะ อดีตคณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทย์และทันตแพทย์แห่งโตเกียว เมื่อ 31 ตุลาคม 2554 ซึ่งภายหลังจากการเซ็นสัญญาบริจาคกับอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในขณะนั้นแล้ว บริษัทเมดิคัลด็อกเตอร์ซอฟท์เฮ้าส์ ได้ทำการขนส่งร่างกายและชิ้นส่วนอวัยวะมนุษย์จำนวน 131 ชิ้น มูลค่ากว่า 100 ล้านบาท มายังคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 18 มีนาคม 2555 พร้อมทั้งอุปกรณ์และผู้เชี่ยวชาญในการจัดแสดงร่างกายและชิ้นส่วนอวัยวะของมนุษย์  ซึ่งทางคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เตรียมงบประมาณพร้อมปรับปรุงสถานที่ทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงิน 1,239,176 บาท ให้เป็นห้องพิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์แล้วเสร็จพร้อมเริ่มจัดแสดงเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2555 (ที่มา : เอกสารประกอบการเข้าชม พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์)

มาเริ่มด้วยข้อมูลทางวิชาการกันก่อนlaugh

พลาสทิเนชัน (Plastination) คืออะไร พลาสทิเนชัน เป็นเทคนิคใหม่ในการรักษาสภาพร่างกายหรือชิ้นส่วนอวัยวะของสัตว์ที่เสียชีวิตแล้ว เทคนิคนี้ค้นพบในปี ค.ศ.1977 โดยนักวิทยาศาสตร์ชื่อ Gunther von Hagens หลักการของพลาสทิเนชัน คือ การแทนที่น้ำและไขมันในเนื้อเยื่อด้วยสารพลาสติกเหลว (ซิลิโคน อีพ็อกซี และพอลิเอสเทอร์โคพอลิเมอร์) ภายใต้สูญญากาศ จากนั้นบ่มพลาสติกให้แข็งตัวด้วยก๊าซ ความร้อน หรือรังสีอัลทราไวโอเล็ต ข้อดีของวิธีการนี้คือ เนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่ได้ ไม่มีกลิ่นเหม็นของน้ำยารักษาสภาพและไม่มีการเน่าสลาย สามารถคงสภาพอยู่ได้นาน  ในระยะแรกของการทำพลาสทิเนชันเป็นการทำในสัตว์และอวัยวะที่มีขนาดเล็ก  ต่อมาได้มีการนำเทคนิคนี้มาใช้กับร่างกายมนุษย์ทั้งร่าง  ซึ่งต้องใช้เวลาในการทำไม่น้อยกว่า 1,500 ชั่วโมง/ร่าง และมีการจัดนิทรรศการแสดงกายวิภาคของร่างกายมนุษย์ที่ผ่านการทำพลาสทิเนชันที่ประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995 ในปัจจุบันมีการจัดแสดงนิทรรศการในลักษณะนี้ไม่น้อยกว่า 50 เมืองทั่วโลก และมีผู้เข้าชมแล้วไม่น้อยกว่า 29 ล้านคน มีพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงร่างกายมนุษย์ที่ผ่านการทำพลาสทิเนชันกระจายอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลกประมาณ 11 แห่ง และเป็นโอกาสดีของคนไทย ที่คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดตั้ง “พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์” ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงร่างกายมนุษย์ที่ผ่านการทำพลาสทิเนชันแห่งแรกในเอเชียอาคเนย์ เพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้เข้าชมกัน (ที่มา : เอกสารประกอบการเข้าชม พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์) น่าภูมิใจจริงๆค่ะ

รายละเอียดร่างกายและชิ้นส่วนฯ
ภายในพิพิธภัณฑ์จะมีการจัดวางร่างกายและชิ้นส่วนร่างกายมนุษย์เป็นหมวดหมู่ แบ่งออกเป็น
ร่างกายมนุษย์แบบเต็มร่าง 13 ชุด
ชิ้นส่วนอวัยวะภายใน 50 ชิ้น
ชิ้นส่วนอวัยวะ 27 ชิ้น
ชิ้นส่วนกล้ามเนื้อ 23 ชิ้น
ร่างกายมนุษย์ตัดแบ่งย่อย 6 ชุด
ชิ้นหล่อแสดงระบบหลอดเลือด 5 ชิ้น
ร่างกายทารกในครรภ์ 7 ชิ้น (ที่มา : เอกสารประกอบการเข้าชม พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์)


มาเริ่มชมกันเลยค่ะ ส่วนหน้าเข้าไปก็เจอโครงร่างเลยค่ะ




ต่อด้วยกล้ามเนื้อส่วนมือ แขน ขา และเท้า


ส่วนหัวกะโหลกและกล้ามเนื้อ


ศรีษะผ่ากึ่งกลางซ้ายขวา และกล้ามเนื้อบดเคี้ยว


ต่อด้วยปอด และการเปรียบเทียบปอดปกติ (ซ้าย) กับปอดของคนสูบบุหรี่ (ขวา) ชัดเจนนะคะว่าควรหรือไม่ควรสูบบุหรี่ทำร้ายปอดต่อไป


ต่อด้วยร่างแสดงระบบประสาท และหลอดเลือด


ต่อด้วยร่างแสดงกล้ามเนื้อของร่างกาย ร่างแสดงเส้นประสาทส่วนปลายและอวัยวะภายในช่องอกและช่องท้อง



ร่างแสดงข่ายประสาทแขนและระบบประสาทช่องอก



กล้ามเนื้อชั้นตื้นใกล้ผิวหนังของร่างกาย


ร่างกายตัดตามขวาง และร่างกายตัดตามยาว


ไตและอวัยวะในช่องท้อง


ร่างแสดงอื่นๆ


พัฒนาการทารกในครรภ์


ร่างแสดงกระดูกซี่โครงและช่องอก


หลอดเลือดของแขน


ร่างแสดงอวัยวะแบบผ่าครึ่ง


ทั้งหมดนี้เป็นแค่บางส่วนนะคะ รายละเอียดมีอีกสำหรับผู้สนใจอยากให้ไปชมด้วยตัวเองค่ะ ก็ถือเป็นพิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจมาก เหมาะสำหรับทุกคนในครอบครัว ได้ทั้งความรู้ ได้ทั้งความอัศจรรย์ใจกับร่างกายของมนุษย์ และที่สำคัญดูแล้วก็ปลงด้วยค่ะ cool


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Praneat Seafood Pattaya

25 มี.ค. 2566

TANGCHAO MALA HOTPOT

23 ก.ค. 2566

Cocoa XO Bangkok

19 มี.ค. 2566

Rain Forest Cafe Pattaya

26 มี.ค. 2566

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้