Last updated: 28 ธ.ค. 2556 | 11624 จำนวนผู้เข้าชม |
พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์ เปิดให้เข้าชมฟรีถึง 30 กันยายน 2555
เปิดให้เข้าชมทุกวันพุธ และวันศุกร์ เวลา 12.30-18.30 น. (เว้นวันหยุดราชการ) สนใจเข้าชมเป็นหมู่คณะติดต่อ 02-2188635 กันได้ค่ะ ที่ตั้ง อยู่ที่อาคารทันตแพทยศาสตร์เฉลิมนวมหาราช 80 ปี ชั้น 9 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การเดินทางตามแผนที่เลยค่ะ
ประวัติความเป็นมา (โดยย่อ)
พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์แห่งนี้ถือกำเนิดขึ้นจากการบริจาคร่างกายและชิ้นส่วนอวัยวะของมนุษย์ ของคุณคัทสุมิ คิตามูระ ประธานบริษัทเมดิคัลด็อกเตอร์ซอฟท์เฮ้าส์ จำกัด ภายใต้การแนะนำของศาสตราจารย์ คัซสุฮิโร เอะโตะ อดีตคณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทย์และทันตแพทย์แห่งโตเกียว เมื่อ 31 ตุลาคม 2554 ซึ่งภายหลังจากการเซ็นสัญญาบริจาคกับอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในขณะนั้นแล้ว บริษัทเมดิคัลด็อกเตอร์ซอฟท์เฮ้าส์ ได้ทำการขนส่งร่างกายและชิ้นส่วนอวัยวะมนุษย์จำนวน 131 ชิ้น มูลค่ากว่า 100 ล้านบาท มายังคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 18 มีนาคม 2555 พร้อมทั้งอุปกรณ์และผู้เชี่ยวชาญในการจัดแสดงร่างกายและชิ้นส่วนอวัยวะของมนุษย์ ซึ่งทางคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เตรียมงบประมาณพร้อมปรับปรุงสถานที่ทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงิน 1,239,176 บาท ให้เป็นห้องพิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์แล้วเสร็จพร้อมเริ่มจัดแสดงเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2555 (ที่มา : เอกสารประกอบการเข้าชม พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์)
มาเริ่มด้วยข้อมูลทางวิชาการกันก่อน
พลาสทิเนชัน (Plastination) คืออะไร พลาสทิเนชัน เป็นเทคนิคใหม่ในการรักษาสภาพร่างกายหรือชิ้นส่วนอวัยวะของสัตว์ที่เสียชีวิตแล้ว เทคนิคนี้ค้นพบในปี ค.ศ.1977 โดยนักวิทยาศาสตร์ชื่อ Gunther von Hagens หลักการของพลาสทิเนชัน คือ การแทนที่น้ำและไขมันในเนื้อเยื่อด้วยสารพลาสติกเหลว (ซิลิโคน อีพ็อกซี และพอลิเอสเทอร์โคพอลิเมอร์) ภายใต้สูญญากาศ จากนั้นบ่มพลาสติกให้แข็งตัวด้วยก๊าซ ความร้อน หรือรังสีอัลทราไวโอเล็ต ข้อดีของวิธีการนี้คือ เนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่ได้ ไม่มีกลิ่นเหม็นของน้ำยารักษาสภาพและไม่มีการเน่าสลาย สามารถคงสภาพอยู่ได้นาน ในระยะแรกของการทำพลาสทิเนชันเป็นการทำในสัตว์และอวัยวะที่มีขนาดเล็ก ต่อมาได้มีการนำเทคนิคนี้มาใช้กับร่างกายมนุษย์ทั้งร่าง ซึ่งต้องใช้เวลาในการทำไม่น้อยกว่า 1,500 ชั่วโมง/ร่าง และมีการจัดนิทรรศการแสดงกายวิภาคของร่างกายมนุษย์ที่ผ่านการทำพลาสทิเนชันที่ประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995 ในปัจจุบันมีการจัดแสดงนิทรรศการในลักษณะนี้ไม่น้อยกว่า 50 เมืองทั่วโลก และมีผู้เข้าชมแล้วไม่น้อยกว่า 29 ล้านคน มีพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงร่างกายมนุษย์ที่ผ่านการทำพลาสทิเนชันกระจายอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลกประมาณ 11 แห่ง และเป็นโอกาสดีของคนไทย ที่คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดตั้ง “พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์” ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงร่างกายมนุษย์ที่ผ่านการทำพลาสทิเนชันแห่งแรกในเอเชียอาคเนย์ เพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้เข้าชมกัน (ที่มา : เอกสารประกอบการเข้าชม พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์) น่าภูมิใจจริงๆค่ะ
รายละเอียดร่างกายและชิ้นส่วนฯ
ภายในพิพิธภัณฑ์จะมีการจัดวางร่างกายและชิ้นส่วนร่างกายมนุษย์เป็นหมวดหมู่ แบ่งออกเป็น
ร่างกายมนุษย์แบบเต็มร่าง 13 ชุด
ชิ้นส่วนอวัยวะภายใน 50 ชิ้น
ชิ้นส่วนอวัยวะ 27 ชิ้น
ชิ้นส่วนกล้ามเนื้อ 23 ชิ้น
ร่างกายมนุษย์ตัดแบ่งย่อย 6 ชุด
ชิ้นหล่อแสดงระบบหลอดเลือด 5 ชิ้น
ร่างกายทารกในครรภ์ 7 ชิ้น (ที่มา : เอกสารประกอบการเข้าชม พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์)
มาเริ่มชมกันเลยค่ะ ส่วนหน้าเข้าไปก็เจอโครงร่างเลยค่ะ
ต่อด้วยกล้ามเนื้อส่วนมือ แขน ขา และเท้า
ส่วนหัวกะโหลกและกล้ามเนื้อ
ศรีษะผ่ากึ่งกลางซ้ายขวา และกล้ามเนื้อบดเคี้ยว
ต่อด้วยปอด และการเปรียบเทียบปอดปกติ (ซ้าย) กับปอดของคนสูบบุหรี่ (ขวา) ชัดเจนนะคะว่าควรหรือไม่ควรสูบบุหรี่ทำร้ายปอดต่อไป
ต่อด้วยร่างแสดงระบบประสาท และหลอดเลือด
ต่อด้วยร่างแสดงกล้ามเนื้อของร่างกาย ร่างแสดงเส้นประสาทส่วนปลายและอวัยวะภายในช่องอกและช่องท้อง
ร่างแสดงข่ายประสาทแขนและระบบประสาทช่องอก
กล้ามเนื้อชั้นตื้นใกล้ผิวหนังของร่างกาย
ร่างกายตัดตามขวาง และร่างกายตัดตามยาว
ไตและอวัยวะในช่องท้อง
ร่างแสดงอื่นๆ
พัฒนาการทารกในครรภ์
ร่างแสดงกระดูกซี่โครงและช่องอก
หลอดเลือดของแขน
ร่างแสดงอวัยวะแบบผ่าครึ่ง
ทั้งหมดนี้เป็นแค่บางส่วนนะคะ รายละเอียดมีอีกสำหรับผู้สนใจอยากให้ไปชมด้วยตัวเองค่ะ ก็ถือเป็นพิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจมาก เหมาะสำหรับทุกคนในครอบครัว ได้ทั้งความรู้ ได้ทั้งความอัศจรรย์ใจกับร่างกายของมนุษย์ และที่สำคัญดูแล้วก็ปลงด้วยค่ะ
23 ธ.ค. 2567
23 ก.ค. 2566
19 มี.ค. 2566
26 มี.ค. 2566